| เช็คสถานะสินค้า |รถเข็น (0)
| สมัครสมาชิกผู้ซื้อ
| แจ้งปัญหาการใช้งาน
เข้าสู่ระบบ

  • เปิดร้าน 18 ต.ค. 2554
  • ปรับปรุง 8 ก.พ. 2562
  • ผู้ชมทั้งหมด 716,785
  • สินค้าทั้งหมด 39






เกล็ดความรู้ตลาดออนไลน์

วันนี้ขอเปลี่ยนจากการแนะนำอาชีพที่ทำมาค้าขายกันบนโลกออนไลน์ มาเป็นข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับการค้าออนไลน์ที่มีประโยชน์มีรายงานจากอีริคสันถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและชอปปิงออนไลน์ แม้จะเป็นข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของต่างประเทศ แต่มีหลายอย่างที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในบ้านเราควรนำมาพิจารณาเริ่มด้วย  อิน-ไลน์ ชอปปิง (in-line shopping) ได้กลายเป็นคำนิยามใหม่ที่สะท้อนพฤติกรรมการชอปปิงของผู้บริโภค ที่จะเลือกดูสินค้าของจริงในร้านค้า (in-store shopping) ควบคู่ไปกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์โดยตรง (online shopping)โดย 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐอเมริกา ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนจ่ายเงินซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้า หรือดาวน์โหลดคูปองส่วนลดต่าง ๆผู้ขายสินค้าจะได้รับประโยชน์ หากเข้าใจผู้บริโภค ที่ต้องการซื้อสินค้าให้ได้ในทันทีที่อยากได้ และสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทั้งในร้านค้าจริงและบนช่องทางออนไลน์ควบคู่กันอย่างมีประสิทธิภาพ

รายงานนี้ใช้ข้อมูลจากผู้บริโภคในสหรัฐ อเมริกา ปี ค.ศ. 2012  จากข้อมูลแสดงให้เห็นชัดเจนว่า  ผู้บริโภคนิยมใช้สมาร์ทโฟนระหว่างการเลือกซื้อของ เพื่อช่วยในการตัดสินใจรายงานนี้ยังชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยให้คำนิยามว่า “in-line shopping” หมายถึง การที่ผู้บริโภคนิยมใช้ทั้งการเลือกซื้อของบนอินเทอร์เน็ต และการเข้าไปดูของที่ร้านจริง ๆ  ควบคู่กันไปพูดกันแบบง่าย ๆ คือ ผู้บริโภคมักต้องการเห็น สัมผัส ลองสินค้า เปรียบเทียบ ราคา เข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้านั้น และรวมไปถึงการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าโดยไม่ต้องต่อแถวรอไมเคิล บีเยอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยของอีริคสัน คอนซูเมอร์ แล็บ ระบุว่า  ผู้บริโภคต้องเลือกซื้อของหลากชนิดเป็นประจำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน จึงต้องการแอพพลิเคชั่นช่วยให้การชอปปิงกลายเป็นเรื่องง่ายและยังต้องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาต้องได้ซื้อของในทันทีที่ต้องการหรือมีความจำเป็นด้วย

ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าต่าง ๆ ควรทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภค และปรับตัวให้ทัน เพื่อความสำเร็จของธุรกิจในอนาคตถ้าสนใจอ่านรายงานฉบับสมบูรณ์ของ พฤติกรรมอินไลน์ชอปปิงของผู้บริโภคคลิกเข้าไปดาวน์โหลดไฟล์มาอ่านได้ที่ www.ericsson.com/res/docs/2012/consumerlab/in-line-shopping.pdfจะค้าขายสมัยนี้ ไม่ใช่แค่คิดแล้วเดินไปซื้อของที่ตลาดแล้วมาตั้งโต๊ะขายหน้าปากซอย เพราะผู้ซื้อมีช่องทางให้เข้าถึงสินค้าได้มากมาย มีอำนาจต่อรองมากขึ้นใครมีข้อมูลอยู่ในมือย่อมได้เปรียบ

อาจมีบ้างบางครั้งที่เราจำเป็นต้องเกี่ยวข้องหรือทำงานร่วมกับคนที่เขาไม่ชอบเราหรือมีอคติกับเรา ซึ่งอคติที่เขามีกับเรานั้นอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น รู้สึกอิจฉา รู้สึกว่าเป็นคู่แข่ง รู้สึกไม่ถูกชะตา เห็นเราทำอะไรก็ขวางหูขวางตาเขาไปหมด แต่ไม่ว่าเขาจะไม่ชอบหน้าเราด้วยสาเหตุใดก็ตาม มันก็เป็นสิ่งที่สร้างความลำบากใจให้กับใครหลาย ๆ คนซึ่งเป็นฝ่ายผู้ถูกกระทำเป็นอันมาก และยิ่งเมื่อต้องมาร่วมงานกันด้วยแล้ว คงทำให้รู้สึกหนักอกหนักใจไม่น้อยเลยทีเดียว ผู้เขียนขอแนะนำวิธีปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับคนที่ไม่ชอบหน้าเรา อีกทั้งยังช่วยให้เขาลดความอคติและอาจหันมาชอบหน้าเราก็เป็นได้ ดังนี้

1. ยิ้มเข้าไว้ รอยยิ้มคือเครื่องมือชั้นดีที่สามารถเปลี่ยนสถานการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดีได้อย่างง่ายๆ เราควรจะฝึกนิสัยของเราให้เป็นคนที่ยิ้มง่ายเข้าไว้ แม้ว่าในช่วงแรกมันอาจจะฝืด ๆ อยู่บ้างหากเราต้องมาแจกยิ้มให้กับคนที่ไม่ชอบหน้าเรา แต่ผลดีมันจะเกิดมีขึ้นแน่นอนในภายหลัง ดังนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือเมื่อเจอหน้ากันก็ยิ้มให้เขาก่อน และแม้ว่าเรายิ้มให้เขาไปแล้วเขาอาจจะไม่ยิ้มตอบ ก็อย่าเสียความมั่นใจ เพราะสิ่งที่เราทำไม่ได้เป็นพิษเป็นภัย และอย่างน้อยผู้เขียนมั่นใจว่า ถ้าเรายิ้มให้ใครด้วยความจริงใจก็ตาม เราจะต้องได้รับความเป็นมิตรและความรู้สึกดี ๆ ตอบกลับมาอย่างแน่นอน
     
        2. มีสัมมาคารวะ คือการแสดงกิริยาหรือปฏิบัติตนที่ยอมรับว่าผู้อื่นดี ดังนั้น เราต้องเปิดใจของเรามองผู้อื่นก่อนว่าเขามีดีอย่างไรบ้าง แม้เขาจะไม่ดีกับเราบางอย่าง แต่เขาอาจจะมีส่วนดีอยู่ เช่น ทำงานดี พูดจาน่าเชื่อถือ ให้เราเอาส่วนดีของเขานั้นมาเป็นเครื่องมือในการสานสัมพันธ์ เป็นต้นว่าเขาเป็นคนเก่งแต่ขี้อิจฉา ให้เรามองข้ามความขี้อิจฉาของเขา แล้วชื่นชมเขาในความเป็นคนเก่ง ดังนั้น การมีสัมมาคารวะกับผู้ร่วมงานไม่ได้หมายถึงการแสดงความเคารพนอบน้อมต่อผู้มีอายุมากกว่าเราหรือมีตำแหน่งสูงกว่าเท่านั้น แม้คนนั้นจะมีอายุเท่าเราหรือเด็กกว่าเรา เราก็มีสัมมาคารวะกับเขาได้ เพราะคนที่ถ่อมตัวย่อมจะเป็นที่เอ็นดูและได้รับความเมตตาเสมอ
     
        3. ทำตัวให้เป็นธรรมชาติ เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะคงไม่มีใครที่ชอบคนเสแสร้งไม่จริงใจ บางทีการที่เขามีใจอคติกับเราอาจจะมีสาเหตุมาจากการที่เราเห็นว่าเราเป็นคนวางตัวไม่เป็นธรรมชาติ อยู่กับคนนี้เป็นอย่าง อยู่กับคนนั้นเป็นอย่าง เช่น บางคนอยู่กับเพื่อนก็ทำเป็นวางท่า หยิ่ง กร่าง แต่อยู่กับผู้ใหญ่ก็ดูหงอเหมือนลูกแมว บางคนนอกเวลางานชอบทำกรี๊ดกร๊าด โชว์ออฟ หรือเป็นพวกเยอะจนล้น แต่พอให้ร่วมกิจกรรมกลับบอกขี้อาย ไม่กล้า ดังนั้น ควรทำตัวให้เป็นธรรมชาติเพื่อแสดงให้ทุกคนได้รู้จักเราจริง ๆ ว่าเราเป็นคนที่มีนิสัยหรือลักษณะเช่นนี้ หากเขาจะชอบหรือไม่ชอบก็จะได้รู้ว่าเป็นเพราะเราเป็นอย่างนี้เขาถึงไม่ชอบ จะได้ปรับกันไปภายหลัง แต่ถ้าเราไม่จริงแล้วก็คงจะยากที่ใครจะมาเข้าใจและยอมรับในตัวเราได้
     
       4. หลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้าย การนินทานำพาซึ่งความแตกแยก การเป็นคนขี้นินทาไม่สามารถสร้างความไว้ใจให้กับใครได้ ทำให้เกิดความระแวงสงสัย แม้เราไม่ได้นินทาเขาแต่ถ้าเขารู้ว่าเราเป็นคนขี้นินทา ชอบพูดจาว่าคนอื่นลับหลัง เขาก็จะมองเราในแง่ไม่ดีหรือมีอคติกับเราไปก่อนแล้ว นี่เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คนไม่ชอบหน้าเราได้ ดังนั้น อย่านินทาใครเลยเป็นดีที่สุดเพราะแสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจ จะทำให้ไม่มีใครอยากมาข้องเกี่ยวกับเรา
     
       5. คุยกับผู้ร่วมงานที่ไม่ชอบคุณไปตรง ๆ ว่ามีอะไรที่เขารู้สึกไม่สบายใจกับคุณหรือไม่ ถ้าหากมีสิ่งใดที่ทำให้เขารู้สึกไม่ชอบใจจะได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ร่วมงานกันได้อย่างราบรื่น ซึ่งส่วนใหญ่เขาก็คงตอบว่าไม่มี แต่อย่างน้อยก็เป็นการดีตรงที่เขาก็ได้เห็นถึงความจริงใจของเรา และในขณะทำงานควรได้มีการพูดคุยอยู่ตลอดว่าเราและเขามีความคิดเห็นหรือมีข้อเสนอแนะในงานอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกันอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานราบรื่น และเชื่อว่าความเป็นคนเปิดใจอย่างตรงไปตรงมาของเราจะทำให้ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกลับดีขึ้นได้
     
       6. ควบคุมอารมณ์ให้ได้ บางครั้งการที่ต้องร่วมงานกับคนที่เขาไม่ชอบเราอาจทำให้เราหงุดหงิดหัวเสียได้ เพราะบางครั้งเขาอาจจะแกล้งเรา ยั่วเรา แสดงท่าทีที่ไม่น่ารักกับเรา แต่ให้เราควบคุมอารมณ์ของเราให้ได้ อย่าไปเดือดร้อนเต้นตามเขา เพราะนั่นหมายถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งต่องานและต่อความน่าเชื่อถือของตัวเรา หรือในบางกรณีที่ทำงานด้วยกันแล้วมีข้อผิดพลาดหรือเกิดปัญหา ทำให้เกิดไม่พอใจกันขึ้นมา ให้ใช้วิธีเอาน้ำเย็นเข้าลูบ ท่องไว้ในใจว่าห้ามใจร้อนผลีผลาม อย่าตบะแตกไปเสียก่อน เพราะจะจะมีแต่เจ๊งกับเจ๊งเท่านั้น
     
       7. ตัดอคติของเราออกไป เป็นธรรมดาที่เมื่อเรารู้ว่าใครไม่ชอบเรา เราก็มักจะมีอคติหรือรู้สึกไม่ชอบเขาคนนั้นขึ้นบ้างเช่นกัน ดังนั้น ให้เราตัดอคติของเราออกไปเสียให้ได้ อย่ามีความคิดไม่มีเหตุผลต่อคนอื่นเหมือนที่คนอื่นไม่มีเหตุผลกับเรา แต่ให้คำนึงถึงผลของงานที่ต้องทำเป็นหลัก เมื่อเราทำได้แล้วจะทำให้เราทำงานร่วมกับใครก็ได้อย่างไม่เดือดร้อน
     
       แม้ว่าอาจจะยากที่จะทำให้คนทั้งโลกรู้สึกรักเราหรือรู้สึกดีกับเรา แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะเป็นคนที่รู้จักที่จะรักและรู้สึกดีกับคนอื่นก่อน เพราะการมอบความรู้สึกดี ๆ และความความจริงใจกับคนทุกคน ย่อมจะนำพาสิ่งที่ดีงามมาสู่ชีวิตของเราอย่างมากมายแน่นอน




ดู 547 | เริ่ม 5 มี.ค. 2557 23:00:02 | IP 27.130.6.1xx